โรครองช้ำ

ปวดเท้าบ่อย เป็นโรครองช้ำหรือไม่ รีบเช็คก่อนเป็นเรื้อรัง

โรครองช้ำ เป็นอีกหนึ่งโรคที่แม่บ้านหลายๆคนเคยได้ยิน และบางคนอาจยังไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรครองช้ำอยู่ หากใครที่เคยเป็นโรครองช้ำคงรู้ถึงอาการดีว่าจะมีอาการปวดที่ส้นเท้า ปวดเท้าเวลาเดิน ซึ่งอาการปวดที่ส้นเท้าจะปวดมากกว่าปกติ รู้สึกปวดจนระบมเลยก็มีค่ะ แล้วโรครองช้ำมีการรักษาอาการปวดให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง บทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำค่ะ

รองช้ำ คือ อาการที่เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เป็นการอักเสบเรื้อรังของผังผืดใต้เท้า หรือการฉีกขาดของเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเอ็นใต้ฝ่าเท้านี้จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวและกระจายแรงของน้ำหนักตัวขณะที่เราเดินหรือวิ่งนั่นเอง หากมีการรับน้ำหนักมากเกินไป เป็นเวลานานซ้ำๆ จะทำให้เกิดอาการอักเสบ และเกิดการปวดเท้าตามมาซึ่งบางคนมีอาการปวดแบบเรื้อรัง 

อาการของโรครองช้ำ

  • มีการปวดใต้ฝ่าเท้าตั้งแต่ฝ่าเท้าตรงกลางถึงส้นเท้า ซึ่งเป็นแนวของผังผืดที่อักเสบนั่นเอง 
  • มีอาการปวดร้อนวูบวาบที่ส้นเท้า เหมือนมีของร้อนมาโดนเป็นพักๆ
  • มีอาการเจ็บจี้ด หรือเจ็บแปล๊บตรงบริเวณส้นเท้าขึ้นมาถึงข้อเท้า แม้เป็นเวลาที่นั่งหรือนอนอยู่เฉยๆนั่นเอง
  • มีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมแทงบริเวณใต้ฝ่าเท้าหรือส้นเท้า

สาเหตุของอาการปวดรองช้ำ

สาเหตุ ของอาการปวดส้นเท้าจนถึงขั้นเรื้อรังนั้น ปัจจุบันอาจยังไม่สามารถหาสาเหตุได้โดยตรง แต่หนึ่งในสาเหตุที่อาจเป็นไปได้คือ การที่เท้ารับน้ำหนักมากเกินไป  หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้ 

  1. ผู้ที่มีอายุมาก 40-60 ปี มักเป็นโรครองช้ำและพบเจอได้บ่อย 
  1. คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ MBI เพราะจะทำให้ผังผืดที่เท้ารับแรงกดทับมากขึ้น เมื่อมีน้ำหนักตัวที่มาก การเดินหรือยืนต้องใช้เท้าในการรับน้ำหนักนั่นเอง
  1. คนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง หรือเต้น เพราะกิจกรรมออกกำลังกายประเภทนี้ต้องลงน้ำหนักที่เท้าอย่างต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆหรือทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดโรครองช้ำตามมา
  1. ผู้ที่มีภาวะเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูงกว่าปกติ  : ทำให้รูปแบบการเดินผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรครองช้ำได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  1. ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม กับกิจกรรมที่ทำ และใส่เป็นเวลานานเกินไป เช่น รองเท้าที่แข็งเกินไป การใส่ส้นสูง 

สาเหตุ ของอาการปวดส้นเท้าจนถึงขั้นเรื้อรังนั้น ปัจจุบันอาจยังไม่สามารถหาสาเหตุได้โดยตรง แต่หนึ่งในสาเหตุที่อาจเป็นไปได้คือ การที่เท้ารับน้ำหนักมากเกินไป  หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้ 

  1. ผู้ที่มีอายุมาก 40-60 ปี มักเป็นโรครองช้ำและพบเจอได้บ่อย 
  1. คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ MBI เพราะจะทำให้ผังผืดที่เท้ารับแรงกดทับมากขึ้น เมื่อมีน้ำหนักตัวที่มาก การเดินหรือยืนต้องใช้เท้าในการรับน้ำหนักนั่นเอง
  1. คนที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง หรือเต้น เพราะกิจกรรมออกกำลังกายประเภทนี้ต้องลงน้ำหนักที่เท้าอย่างต่อเนื่อง เป็นพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆหรือทำเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดโรครองช้ำตามมา
  1. ผู้ที่มีภาวะเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูงกว่าปกติ  : ทำให้รูปแบบการเดินผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรครองช้ำได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  1. ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม กับกิจกรรมที่ทำ และใส่เป็นเวลานานเกินไป เช่น รองเท้าที่แข็งเกินไป การใส่ส้นสูง 

6. การเดินหรือยืนนานๆ : การยืนบน BTS ทุกวัน นานเป็นชั่วโมง หรือการเดินระยะไกล อาจส่งผลให้ปวดฝ่าเท้า เจ็บบริเวณส้นเท้าได้ และหากต้องทำสิ่งนี้เป็นกิจวัตร แน่นอนว่าคุณอาจเป็นโรครองช้ำค่ะ

วิธีบรรเทาอาการปวดรองช้ำเบื้องต้น

  • แช่เท้าในน้ำอุ่น โดยใส่น้ำให้ท่วมถึงข้อเท้า หากมีอาการปวดเยอะให้แช่เท้าในน้ำอุ่น เช้า-เย็น เป็นเวลา 15-20 นาที 
  • ทายาบรรเทาอาการปวดชนิดครีมหรือเจล เช่น ไดโคลฟลีแน็ก เป็นยาแก้ปวดเฉพาะที่ สามารถปรึกษาเรื่องการใช้ยาทาได้จากร้านขายยาใกล้บ้าน 
  • ออกกำลังกายโดยการยืดเส้น : ยืดฝ่าเท้า ดึงฝ่าเท้าขึ้นเหยียดออกให้ตึงพอแต่ไม่ให้มีอาการเจ็บ ทำอย่างช้าๆนุ่มนวล ไม่ออกแรงมากเกินไป 
  • ทานยาแก้ปวด : หากมีอาการปวดมากๆ สามารถทานยาแก้ปวดได้ หากเป็นยาแก้ปวดที่นอกเหนือจากพาราเซตามอลนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนทาน 

นอกเหนือจากนี้การรักษาโรครองช้ำ สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาสเตียรอยด์ ทำกายภาพบำบัด และรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ด้วยคลื่นช็อคเวฟ เหมาะกับผู้ที่มีอาการเรื้อรัง ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพราะสภาพร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

วิธีป้องกัน ทำยังไงไม่ให้เกิดอาการร้องช้ำขึ้นอีก

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย และกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก : หยุดการเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ หรือหยุดออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเท้าเยอะเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า : การไม่ใส่รองเท้าทำให้เท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรงไม่มีรองเท้าคอยซับแรง อาจทำให้ปวดเท้าหรือเจ็บเท้าได้ 
  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เป็นรองเท้าที่ส้นนุ่ม สวมใส่สบาย เลือกที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับสรีระของเท้าและอุ้งเท้า หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือฉีกขาด
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม : น้ำหนักตัวที่มากขึ้นหรือเกินค่า MBI อาจทำให้เท้ารับน้ำหนักตัวมากเกินไป ส่งผลกระทบให้ผังผืดใต้เท้าอักเสบได้

โรครองชำไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน เพราะอาการปวดที่เป็นๆหายๆนี้นั่นเอง หากเราใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับเปลี่ยนก็ยิ่งทำให้โรคทวีความรุนแรงขึ้น และทำให้เป็นเรื้อรังรักษาหายยากนั่นเอง 

การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างใฝ่ฝัน เมื่อมีสุขภาพกายที่แข็งแรงแล้วสุขภาพจิตก็สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้บ้านและที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งแรกๆที่จะทำให้เรามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง อย่าลืมหันมาดูแลบ้านให้สะอาดอยู่เสมอนะคะ 

หากคุณไม่มีเวลาทำความสะอาดบ้าน สามารถเลือกจองแม่บ้านออนไลน์ให้เข้ามาทำความสะอาดบ้านของคุณได้ จองง่าย ราคาประหยัด แม่บ้านคุณภาพดี ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  Bluuu แม่บ้านออนไลน์ 

เกี่ยวกับผู้เขียน 

Uthaiwan B.